+66 2 0028804 ,+66 897942288

ความปลอดภัยในงานก่อสร้าง

1. จัดทำเขตอันตรายในเขตก่อสร้างด้วยวัสดุที่เหมาะสมและมีป้าย "เขตอันตราย" แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนในเวลากลางคืน ให้มีสัญ...

1. จัดทำเขตอันตรายในเขตก่อสร้างด้วยวัสดุที่เหมาะสมและมีป้าย "เขตอันตราย" แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนในเวลากลางคืน ให้มีสัญญาณไฟสีส้มตลอดเวลา
2. การทำงานเครื่องตรอกเสาเข็ม ต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันครบถ้วน ทั้งผู้ควบคุมและคนทำงาน
3. กรณีมีการเทคอนกรีตเหนือค้ำยัน นายจ้างต้องควบคุมดูแล มิให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปอยู่ใต้บริเวณที่เทคอนกรีตนั้น
4. จัดทำพื้นที่ทำงานก่อสร้างให้มีความแข็งแรง สามารถรองรับน้ำหนักเครื่องจักรและอุปกรณ์ได้อย่างปลอดภัย
5. กรณีที่มีการใช้เครื่องจักที่มีการเคลื่อนที่ ต้องติดตั้งอุปกรณ์เตือนอันตรายไว้ที่เครื่องจักรนั้น เช่น สัญญาณเสียง และสัญญาณแสง
6. ติดตั้งระบบป้องกันสายไฟฟ้ารั่วโดยต่อสายดิน และมีการตรวจสอบความเรียบร้อยอยู่ตลอดเวลา (ปลั๊กที่ใช้ทุกตัวต้องต่อสายดินให้เรียบร้อย)
7. วิศวกรต้องคำนวณ ออกแบบ และกำหนดขั้นตอนก่อนมีการเจาะ ขุดรู หรือหลุม บ่อคู และงานอื่นในลักษณะเดียวกันที่ลึกตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป และต้องมีอุปกรณ์เพื่อป้องกันดินพังทลาย
8. การทำงานในที่สูงจากพื้นดินหรือพื้นอาคารตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป ต้องมีนั่งร้าน บันได ขาหยั่ง หรือม้ายืนที่ปลอดภัยตามสภาพของงานนั้นๆ และทางลาดชันที่สูงเกิน 2 เมตร และทำมุมเกิน 30 องศาจากแนบราบ ต้องมีเชือกช่วยชีวิตและเข็มขัดนิรภัย เพื่อป้องกันการพลัดตกเพื่อความปลอดภัย
9. ทางเดินชั่วคราวยกระดับสูง ซึ่งมีลักษณะเป็นทางลาดชัน ต้องมีวัสดุป้องกันการลื่น และดูแลให้เกิดความปลอดภัยตลอดเวลาการทำงาน

Cr. สำนักความปลอดภัยแรงงาน www.oshthai.org

Share this post :